ฉบับภาษาไทยอยู่ข้างล่าง
Thailand’s government has chosen national and regional lockdowns as its tool of choice to halt the spread of the COVID-19 virus. A nationwide emergency decree currently allows the government to impose restrictions on people’s mobility and activities, previously including a curfew forbidding people from leaving their homes from 10 pm to 4 am. By June, the Global COVID-19 Index had ranked Thailand’s recovery from the pandemic third out of 184 countries. While the curfew was lifted on 14 June, the emergency decree has been extended to 31 August.
Virus transmissions in Thailand are waning, yet the economic devastation wrought by the lockdown continues to destroy several hundreds upon thousands of lives. The successive closure of factories and halting of commerce and business activities in almost all forms has affected the entirety of Thai society. In the midst of this hardship, several forms of donation and redistribution have emerged to fill gaps in welfare left by the state. With little support from the government, resources are being shared and reallocated across society through initiatives ranging from the handing out of crops, to community pantries filled with free-for-all goods, to “rice for fish” exchanges between indigenous communities in the north and south.
However, redistribution in the time of COVID-19, though providing a significant social safety net, is increasingly been politicised and subject to moral policing. Donation and redistribution are generally public acts ideally performed voluntarily. As redistribution has proliferated, any “immodest” receiving manner by the poor has been strongly denounced both by the state and middle-class donors. Connecting the wealthy and the poor in moral interactions, these new giving practices are contributing to the reproduction of unequal power relations within Thai society.
Centres of migration, to cities in limbo
Experts predict that the economic effects of lockdowns in Thailand have caused more hardship, across a wider spectrum of demographics, compared to the Asian financial crisis of 1997. Thailand’s economy relies heavily on tourism, while falling crop prices in recent years have prompted more families to rely on income outside of the agricultural sector. The sudden halting of service industries inevitably precipitated a wave of mass unemployment, with plummeting consumption leading to a chain reaction in other industries.
The National Economic and Social Development Council estimates that up to 8.4 million people have been left unemployed from the pandemic, with up to 14% of citizens completely lacking any income. The majority of the affected reside in the provinces. Economists estimate that up to another 5 million have entered “disguised unemployment,” where they are formally employed but generating little real productivity.
Cities which were once centres of migration attracting the poor eager to eke out a living have turned into spaces where they instead wait out a state of limbo from which an exit is not yet clear. Only a few businesses continued operating prior to the easing of the lockdown. Among those were delivery services, especially food delivery apps, which became a crucial source of income for the newly unemployed. But even delivery applications eventually felt the effects of the economy’s abrupt closure. On 16 June, Grab, a major delivery application in Asia, announced it was laying off 5% of its staff, including in Thailand.
The Thai state is infamous for providing a weaker social safety net than other Asian countries. It is also commonly acknowledged that the state bureaucracy which implements that welfare is too slow to respond to the needs of citizens. While more than 24 million citizens applied for the government’s “No One Left Behind” grant of 5,000 baht (US$218) in cash every month for three months, millions were ruled ineligible and many reported not receiving the first payment.
The failure of the Thai government to soften the financial blow of the lockdown has been most obvious in a daily stream of headlines documenting suicides among the poor. On 28 May, after growing weary of waiting for financial aid, a woman who had been evicted from her condo consumed rat poison in front of the Ministry of Finance. Meanwhile those still with life but living hand to mouth mobilise for access to welfare. One group calling itself “The Group Asking to Stop Begging to Eat”, for example, has called for the right to access one’s pension fund early in order to alleviate immediate hardship.
Donations, redistribution and bartering
Over the past three months, Thai citizens with resources to spare have distributed necessities en masse to those in need. Individuals stand throughout the city handing out bags and containers filled with ready-made food. Restaurants are giving away meals while temples open free cafeterias. Others have distributed money and goods at factories employing migrant workers, who are not entitled to state benefits. No small number of unemployed people are spending their days waiting in queues for free food and travelling between various spots in the city where handouts are available.
The dual disruption of the market economy and the state’s failure to mediate the economic crisis has given rise to these social initiatives of redistribution, donation and resource exchanges. They resonate with what Polanyi called “embedded economies”— economies embedded in social institutions and regulated by society outside the sphere of the market economy. In the time of COVID-19, alternative economies of resource sharing and giving are connecting disparate groups across society in efforts to sustain people’s livelihoods.
“Rice for Fish”: Karen counter-narratives of self-sufficiency and Thainess
Karen-led initiatives such as "Rice for Fish" are challenging Bangkok-centric stereotypes that ethnic minorities are lazy, backwards and in need of the state's intervention.
In some instances, people with little social status have too offered up what they could. One prominent example are the efforts of ethnic hill people who from May began carrying rice and crops cultivated in the mountains to distribute to people in cities. One ethnic Hmong kamnan from Mae Taeng district in Chiang Mai led villagers carrying more than 10,000 kilos of cabbage, reasoning that they were helping the city people who usually buy their crops. Such ethnic hill people have historically been subject to accusations by the state and majority Thai that their slash-and-burn agricultural traditions destroy forests and create the smog that cloaks cities in the north. On one level then, the crisis in cities has created an opportunity for marginalised groups to subvert public perceptions that they are simply “receivers” and to pay off their “development debts” to urban dwellers.
Middle-class “moralities of gratitude”
Donation, redistribution and bartering as economic interactions are not free from politics and class conflict. Donations during COVID-19 are both acts which have been politicised and acts of political expression, creating tension both between the state and citizens and between the middle class and the working class.
Against its failure to protect citizens, the Thai state has turned to policing in order to reinsert itself in social relationships and demonstrate the legitimacy of its power to enforce the law over the people. State officials have installed rules around appropriate forms of donation, intending to create discipline around giving. Distribution of food and goods must now be authorised by the appropriate state agency in order to comply with the emergency decree. The Bangkok Metropolitan Administration has requested that donors hand out food only at government-designated locations, so that officials can ensure social distancing.
Keeping order for the sake of good order, rather than protecting the lives of people, has arguably been the state’s highest priority in enforcing the Emergency Decree. Donation without the approval of the state has become a political act which must be subject to control, much like the acts of many other varieties which fall under the Emergency Decree’s purview. One state official reasoned when it came to the arrest of a woman who was handing out items: “She used her vehicle to distribute goods without alerting the authorities … Alerting the authorities is necessary so we can coordinate the relevant units to oversee the situation and prevent any chaotic incidents. We understand the good intentions of the donor, but there must be discipline and social distancing to prevent the transmission of the COVID-19 virus.” The state’s desire to maintain law and order has oftentimes overshadowed the rationale of the law itself, leading to such absurd incidents.
Across society at large, the act of accepting a donation has simultaneously evolved into a matter of moral debate. But when acts of acceptance are subject to a strict boundary between appropriate and inappropriate behaviour, the line is likely defined by those giving.
The proliferation of donation projects which are the pride of the middle class comes hand in hand with the denouncement of the “receiving behaviour” of the working classes, who are “overly greedy” and “don’t know when is enough”. The most bitter condemnation is levied when goods donated by the middle are swept clean or are resold. Criticism against such conduct on social media has escalated to the point that Prime Minister Gen Prayut Chan-o-cha himself joined middle class netizens in condemning the “selfish” behavior of those who emptied “pantries of sharing” and “ruined” the public’s goodwill. “This must not be allowed to happen again. If you continue such abuse, no one will want to donate,” said Prayuth. The Prime Minister even suggested the installation of security cameras to monitor against hoarding.
For the middle class, images of the poor taking more than they are given violate and undermine the morality of gratitude. In Thai society, gratitude is often morally expected and should be properly expressed as a thankful response to receiving a gift. Gratefulness is traditionally conceived as virtuous, and acts expressing thankfulness to the giver are often regarded as morally praiseworthy. Modesty represents one such expression of thankfulness, while an act of insatiability is often condemned. Donation is not a one-sided practice, or situated in a morally neutral relationship. In an unequal relationship between the rich and the poor, the morality of gratitude is by all means defined by the former.
In contrast, for the working classes, receiving and redistribution is part of the “moral economy”— the idea that social arrangements should be structured to respond to the subsistence needs of the poor. Within an unequal society, charity and donation can be considered as a moral responsibility that accompanies wealth. From this perspective, even the reselling of gifts can be viewed as an act by the poor to help the poor. One woman who was publically criticised for reselling items from a pantry of sharing explained, “It is not true that I resold the items from the pantry of sharing… I bought these donated items from vagabonds at the Hua Lamphong train station out of sympathy. These people did not have any cooking tools to boil instant noodles or to cook rice. I helped buy the goods so that they could use the money to buy food. I then resold these items at much lower than the market price just to scrape by.”
A clash of moralities
The clash between the middle class morality of gratitude and the moral economy of the poor has brought to light deeper class differentiations and negotiations played out more generally in the politics of charity. Giving, whether motivated by religious or other logics, has never been a one-sided interaction, but represents an exchange that takes place across unequal social relations, often reproducing class differentiation between wealthy givers and poorer receivers (see Bowie 1998). During the pandemic, the morality of gratitude has not only sustained the superiority of the middle classes over the working classes, it has also provided justification for the state to deploy surveillance.
For the poor, their struggle to survive the lockdown does not only involve a search for limited channels to eke out a living. They must also learn to deal with the morality of gratitude that comes hand in hand with receiving assistance. One man explained to me his choice to travel to a pantry of sharing small in size and far away from his community: “Here, there isn’t anyone [watching]”. Evading surveillance is one of the rare strategies available to the poor as they seek to not merely live, but maintain their dignity in being human.
มาตรการการปิดเมือง และปิดประเทศ เป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่รัฐไทยนำมาใช้เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด มาตรการดังกล่าวอาศัยอำนาจภายใต้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งประกาศใช้ทั่วราชอาณาจักรไทย และได้เปิดโอกาสให้รัฐสามารถเข้าควบคุมการเคลื่อนย้ายและประกอบกิจกรรมของประชาชนอย่างเข้มงวด อาทิ การบังคับใช้เคอร์ฟิวห้ามมิให้ประชาชนออกจากเคหสถานระหว่าง 22.00-4.00 น. อันเป็นข้อบังคับที่ยกเลิกไปในเวลาต่อมา The Global COVID-19 Index ได้จัดอันดับให้ไทยเป็นประเทศที่สามารถฟื้นตัวจากโควิด-19ที่ดีที่สุดเป็นอันดับ 3 จาก 184 ประเทศทั่วโลก และดีที่สุดในเอเชีย (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563) ทั้งนี้ พรก.ฉุกเฉินซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้รัฐไทยรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดนี้ ได้ถูกขยายเวลาการบังคับใช้ออกไปจนถึง 31 สิงหาคม แม้ว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะดีขึ้นเป็นลำดับแล้วก็ตาม
ผลของมาตรการปิดเมืองนั้น ได้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อชีวิตของผู้คนจำนวนมหาศาลทั่วทั้งสังคม การทยอยปิดตัวลงของโรงงานและบริษัทห้างร้านต่างๆที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องก่อนหน้านี้ ได้สร้างภาวะการตกงานอย่างเฉียบพลันและหนักหน่วงต่อเนื่อง ที่แผ่ขยายเป็นวงกว้างในแทบทุกกลุ่มคนในสังคม
แต่ในท่ามกลางวิกฤตการณ์เศรษฐกิจดังกล่าว ปรากฏการณ์การปันส่วนใหม่และการให้กลับได้ก่อตัวขึ้นและทำหน้าที่ทางสวัสดิการที่ถูกทอดทิ้งโดยรัฐ ภายใต้รูปแบบหลากชนิดของการแลกเปลี่ยนและแจกจ่ายทรัพยากร เช่น การแจกพืชผลทางการเกษตร การตั้งตู้ปันอาหารและสิ่งอุปโภคบริโภค ไปจนกระทั่งการแลกข้าวกับปลา ระหว่างชุมชนในภาคเหนือและภาคใต้ เป็นต้น โดยที่กระบวนการดังกล่าวดำเนินไปนอกปริมณฑลของรัฐ
อย่างไรก็ตาม การปันส่วนทรัพยากรในห้วงเวลาแห่งวิกฤตการณ์โควิด-10 แม้ว่าจะทำหน้าที่ในการเสริมสร้างหลักประกันทางสังคมให้กับผู้ที่กำลังประสบกับภัยวิกฤต แต่กลับกลายเป็นปริมณฑลแห่งความย้อนแย้งทางการเมืองของการตรวจตราทางศีลธรรม ในขณะที่การบริจาคและการปันส่วนทรัพยากรใหม่นั้น เป็นการกระทำการเชิงสาธารณะและดำเนินไปด้วยความสมัครใจ แต่เมื่อกระบวนการปันส่วนใหม่ได้แพร่กระจายออกไป การรับบริจาคและการรับการปันส่วนโดยกลุ่มคนยากจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ถูกตราว่า “มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม” กลับกลายเป็นประเด็นที่ถูกประนามทั้งจากผู้ให้ซึ่งเป็นชนชั้นกลาง และจากรัฐ การให้ในภาวะโควิด-19 จึงได้กลายเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงชนชั้นผู้ร่ำรวยและชนชั้นผู้ยากจนเข้าด้วยกันผ่านปฏิสัมพันธ์เชิงศีลธรรม ที่ได้ทำหน้าที่ในการผลิตซ้ำความสัมพันธ์ทางอำนาจที่ไม่เท่าเทียมที่เข้มข้นขึ้นในสังคมไทย
เมืองอันว่างเปล่า
มีการประเมินว่าผลกระทบจากการปิดเมืองทางเศรษฐกิจในครั้งนี้นั้นรุนแรงกว่า และสร้างความทุกข์ยากให้กับประชาชนหลายกลุ่มที่กว้างขวางกว่าวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 หลายเท่าตัวนัก สำหรับประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในโลกเช่นไทย และภาคการเกษตรประสบปัญหาราคาพืชผลตกต่ำมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา จนต้องพึ่งพารายได้จากนอกภาคเกษตรเป็นสำคัญ การสิ้นสุดลงของภาคบริการอย่างกระทันหัน ย่อมหมายถึงการตกงานของกลุ่มคนจำนวนมหาศาลที่อยู่ในห่วงโซ่เศรษฐกิจที่เชื่อมร้อยกับการบริโภคชนิดต่างๆที่เคยไหลเวียนข้ามพื้นที่ทั้งในและนอกประเทศ
การปิดกั้นการไหลเวียนทางเศรษฐกิจและความไร้ประสิทธิภาพของรัฐในการคุ้มครองประชาชนในสถานการณ์โควิด-19 ได้เปลี่ยนเมืองซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางของการยังชีพของกลุ่มชนที่ยากจนให้กลายเป็นที่ซึ่งโรคระบาดได้ตรึงแขวนชีวิตของพวกเขาไว้กับความชั่วคราวที่ไร้ทางออก (Pandemic abeyance) ในขณะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศเริ่มคลี่คลายลง แต่โศกนาฎกรรมจากการปิดล้อมในนามของโรคระบาดกลับแผ่ขยายออกไป และได้ทำลายชีวิตทางเศรษฐกิจของประชาชนลงอย่างแสนสาหัส สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประเมินตัวเลขของผู้ตกงานจากภาวะการแพร่ระบาดของโควิด-19ไว้สูงถึง 8.4 ล้านคน โดยผู้ที่ขาดรายได้โดยสิ้นเชิง มีอัตราส่วนสูงถึง 14% ของประชากรทั่วประเทศ และส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัด ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจำนวนคนว่างงานแฝงอาจสูงถึง 5 ล้านคน
ในเมืองใหญ่ๆ อาทิเช่น เชียงใหม่ซึ่งเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของไทย นับเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษที่ผ่านมา ที่เมืองได้กลายเป็นพื้นที่อันเงียบสนิทเฉกเช่นเมืองร้าง ในช่วงก่อนที่รัฐจะผ่อนคลายการปิดเมือง มีธุรกิจเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อผู้คนและการบริโภคเข้าด้วยกัน และหนึ่งในนั้นคือการบริการขนส่งสินค้าที่สั่งผ่านแอพพลิเคชั่นออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริการส่งอาหารผ่านรถจักรยานยนต์ ที่ได้ทำให้อาชีพส่งอาหารกลายเป็นแหล่งงานสำคัญที่รองรับผู้ตกงานจากภัยการปิดเมือง แต่แม้กระนั้นก็ตาม แม้แต่ธุรกิจดังกล่าว ก็ยังได้รับผลกระทบจากการหยุดชะงักของเศรษฐกิจ และทำการเลิกจ้างคนงาน ไม่ต่างไปจากธุรกิจประเภทอื่นๆ ในวันที่ 16 มิ.ย. 2563 Grab ซึ่งเป็นธุรกิจบริการขนส่งผ่านแอปพลิเคชันใหญ่ในเอเชีย ได้ประกาศเลิกจ้างพนักงาน 5% ของจำนวนพนักงานทั้งหมดซึ่งรวมทั้งในไทยเพื่อลดค่าใช้จ่ายของธุรกิจลง
รัฐไทยนั้นขึ้นชื่อว่ามีการคุ้มครองทางสังคมที่ย่ำแย่กว่าประเทศอื่นๆในเอเชีย ขณะเดียวกันกระบวนการทางราชการก็ไร้ซึ่งประสิทธิภาพ ล่าช้า และไม่ทันการต่อการช่วยเหลือเยียวยาประชาชน สำหรับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น ต่างก็พยายามดิ้นรน และกระเสือกกระสนที่จะเข้าถึงเงินช่วยเหลือห้าพันบาทที่รัฐสัญญาที่จะมอบให้ บ้างก็รวมกลุ่มกันเรียกร้องสิทธิที่พึงได้จากรัฐ เช่น กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “กลุ่มขอคืนไม่ได้ขอทาน” ซึ่งรวมตัวกันทวงสิทธิให้รัฐนำเงินสมทบชราภาพจากกองทุนประกันสังคมออกมาบรรเทาความเดือดร้อน การชุมนุมของคนหาเช้ากินค่ำ เพื่อเรียกร้องสิทธิในการรับการเยียวยาจากรัฐ กลายเป็นข่าวพาดหัวที่เกิดขึ้นตลอดช่วงของการปิดเมือง ในวันที่ 28 เมษายน หญิงตกงานรายหนึ่งซึ่งถูกไล่ออกจากห้องเช่า ได้ตัดสินใจกินยาเบื่อหนูเพื่อฆ่าตัวตายหน้ากระทรวงการคลัง หลังจากรอเงินเยียวยาจากรัฐจำนวน 5,000 บาทมาเป็นเวลานาน
ในขณะเดียวกัน การฆ่าตัวตายรายวันของผู้คนก็เกิดขึ้นราวกับใบไม้ร่วง และต่อเนื่องมาแม้จนปัจจุบัน เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน หญิงสาวเจ้าของธุรกิจกลางคืนรายหนึ่ง ได้ฆ่าตัวตาย โดยสามีของเธอได้ตั้งคำถามในเฟสบุ๊คถึงรัฐบาลว่า “จะรอให้ตายอีกกี่คน ถึงจะให้ธุรกิจกลางคืนเปิดได้ รัฐบาลเป็นคนสั่งปิด แต่ไม่ดูแลเยียวยา วันนี้เป็นคิวเมียผมที่ฆ่าตัวตาย”
การให้ การปันส่วนใหม่และการแลกเปลี่ยน
ในท่ามกลางการชะงักงันของระบบทุนนิยมและเศรษฐกิจแบบตลาด และความล้มเหลวในการช่วยเหลือประชาชนของรัฐ การปันส่วนใหม่ (Redistribution) การให้ และการแลกเปลี่ยน กลับกลายเป็นปรากฏการณ์ที่แผ่ขยายไปในเมืองต่างๆทั่วประเทศ ปรากฏการณ์ดังกล่าวในแง่หนึ่ง สะท้อนวิธีคิดทางเลือกว่าด้วยเศรษฐกิจ ที่มีมนุษย์และสังคมเป็นศูนย์กลาง หรือเศรษฐกิจที่แฝงฝังอยู่ในสังคม (Embeddedness) ซึ่งดำเนินไปนอกปริมณฑลของเศรษฐกิจตลาด ตามแนวคิดของคาร์ล โปลานยี (Karl Polanyi 1977) ในห้วงเวลาแห่งวิกฤตการณ์โควิด-19 เศรษฐกิจทางเลือกของการแบ่งปันทรัพยากรและการให้ได้เชื่อมร้อยผู้คนกลุ่มต่างๆเข้าด้วยกันในความพยายามที่จะหล่อเลี้ยงชีวิตให้อยู่รอด
ตลอดเวลากว่าสามเดือนของวิกฤตการณ์ปิดเมือง ประชาชนที่พอมีทุนทรัพย์ต่างก็นำทรัพยากรออกมาจ่ายแจก ทั้งในรูปแบบของอาหารปรุงสำเร็จ ข้าวและพืชผักผลไม้ เครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น ตลอดจนเงิน ภายใต้รูปแบบของการกระจายที่หลากหลาย นับตั้งแต่การนำอาหารที่ปรุงสำเร็จบรรจุถุงพลาสติกหรือภาชนะ มายืนแจก ณ จุดต่างๆในตัวเมือง การแจกอาหารของร้านอาหารต่างๆ การเปิดโรงทานแจกอาหารของวัด การรับบริจาคเงินเพื่อซื้อคูปองไว้กับร้านอาหารเพื่อให้ผู้ที่เดือดร้อนใช้คูปองนั้นซื้ออาหาร การระดมทุนเพื่อนำเงินและเครื่องอุปโภคบริโภคไปแจกจ่ายให้กับแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้รับสิทธิการเยียวยาจากรัฐ ตลอดจนการตั้งตู้ปันสุข (Pantries of sharing) เพื่อแจกจ่ายอาหาร อันเป็นแนวคิดซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากต่างประเทศ และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปทุกจังหวัดของไทย ทำให้มีตู้ดังกล่าวอยู่จำนวนนับพันตู้ทั่วประเทศ ในช่วงเวลาดังกล่าว กลุ่มคนที่ตกงานจำนวนไม่น้อย ใช้เวลาในแต่ละวันหมดไปกับการยืนเข้าแถวรอคิวรับอาหาร และวิ่งรอกตระเวณรับอาหารจากจุดต่างๆทั่วเมือง
สิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้ที่ให้และแบ่งปันทรัพยากรนี้ ไม่ได้มีแต่เพียงชนชั้นกลาง หรือกลุ่มธุรกิจที่มีฐานะดีเท่านั้น แต่แม้แต่ผู้ที่ไม่ได้มีฐานะร่ำรวยอะไร ก็ยังร่วมนำสิ่งของที่พอมีไปบริจาคให้กับผู้ที่เดือดร้อนกว่าตน กลุ่มคนที่ว่านี้รวมไปถึงกลุ่มชาติพันธุ์บนที่สูง ผู้ซึ่งมักถูกรัฐและชนพื้นราบตราหน้าว่าเป็นผู้ทำลายป่า หรือไม่ก็สร้างปัญหาหมอกควันให้กับเมือง ในช่วงวิกฤตของเมืองนับตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา กลุ่มชาติพันธุ์บนภูเขาหลากหลายกลุ่มต่างพากันขนข้าวและพืชผักที่พวกเขาปลูกลงจากดอย นำมาแจกจ่ายให้กับคนในเมือง กำนันชาวม้งจากอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่คนหนึ่ง ได้นำชาวบ้านในหมู่บ้านขนกะหล่ำปลีกว่า 1 หมื่นกิโลกรัมลงมาแจกให้กับคนในเมือง โดยให้เหตุผลว่า ที่เอาผลผลิตมาแจกจ่ายนั้นก็เพราะคนในเมืองเป็นผู้ที่ซื้อผลิตผลของคนบนดอยมาโดยตลอด ศิวกร โอ่โดเชา ชาวปกาเกอะญอจากอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้รวบรวมข้าวสารจากชาวบ้านนำไปแจกจ่ายให้คนในเมือง ได้กล่าวว่า การแบ่งปันข้าวให้กับคนในเมืองนั้นก็เพื่อตอบแทนน้ำใจที่กลุ่มคนในเมืองเคยร่วมกันบริจาคอุปกรณ์ดับไฟให้กับชาวบ้านบนดอยในยามที่พวกเขาเผชิญกับปัญหาไฟป่าที่หนักหนาสาหัสนับตั้งแต่เดือนธันวาคมที่ผ่านมา และสำหรับชาวบ้านแม่แฮเหนือ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่นั้น วิกฤตของเมืองได้เปิดโอกาสให้พวกเขาได้เปลี่ยนบทบาทจากผู้รับกลายเป็นผู้ให้ ดังข้อความของผู้บริจาคชาวปกาเกอะญอรายนี้ “พวกเราไม่มีเนื้อสัตว์ผัดน้ำมันหอย แต่เราคนดอยมีข้าวสารกับผักกาด ในยามที่บนดอยอากาศหนาวเย็น ขาดเครื่องเขียนอุปกรณ์ การเรียน สมุดปากกา ดินสอ เครื่องนุ่งห่ม พี่น้องในเมืองได้นำมาบริจาค ให้กับเรา” ในแง่นี้ การปิดเมืองจึงไม่เพียงได้เปิดโอกาสให้กับการตอบแทน “หนี้การพัฒนา” ที่ชนชายขอบมีต่อเมืองศูนย์กลาง แต่ยังกลับด้านบทบาทระหว่างผู้ให้กับผู้รับอีกด้วย
นอกจากนี้แล้วในช่วงเวลาแห่งการชะงักงันชั่วคราวของเศรษฐกิจแบบตลาด เรายังได้เห็นการทดลองเศรษฐกิจทางเลือกในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนสินค้า (Barter system) ระหว่างกลุ่มชนต่างๆที่ไม่ผ่านตลาดในการกำหนดราคา เช่น การแลกข้าวกับปลา ระหว่างชนบนดอยในภาคเหนือและชาวอีสาน กับชาวประมงและกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะทางใต้ของไทย ภายใต้การสนับสนุนของกลุ่มองค์กรต่างๆ และสถาบันวิชาการ ทั้งนี้การปิดเมืองไม่เพียงส่งผลต่อชีวิตของคนในเมืองเท่านั้น หากแต่ยังสร้างผลกระทบต่อชาวบ้านในเมืองชายทะเลที่เคยพึ่งพิงรายได้หลักจากการท่องเที่ยว และชาวประมงที่มีผลผลิตปลาล้นเกิน แต่ไม่สามารถนำออกไปขายได้ การแลกเปลี่ยนทางตรงจึงเป็นกิจกรรมทางเลือกที่น่าสนใจ ที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากการขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ดังคำกล่าวของชาวเลในชุมชนราไวย์ จังหวัดภูเก็ตในการแลกเปลี่ยนปลาแห้งกับข้าวของชาวปกาเกอะญอจากหมู่บ้านที่ไกลโพ้นบนภูเขาว่า ““ชาวเลมีปลาแต่ขายไม่ได้เพราะถูกปิดทั้งสะพานสารสินและตำบลราไวย์ เราได้ปลามาทุกวัน จึงเป็นไปได้มั้ยว่าเอาปลาไปแลกกับข้าวของชาวกะเหรี่ยงซึ่งเป็นข้อเสนอที่ดีมาก เพราะตอนนี้ปลาขายได้แค่ในพื้นที่ราไวย์ ซึ่งขายได้ไม่มาก แต่ปลาขึ้นมาวันละนับร้อยกิโลกรัม ดังนั้นการทำปลาตากแห้งนำไปแลกกับข้าวจึงเป็นไอเดียที่ดี”
เช่นเดียวกับการให้ และการแบ่งปันใหม่ การแลกเปลี่ยนทางตรงเพื่อช่วยเหลือกันและกันของประชาชน เป็นยุทธศาสตร์การดำรงชีพของผู้คนที่ไม่เพียงถักทอขึ้นนอกปริมณฑลความสัมพันธ์กับรัฐ หากแต่ยังตั้งคำถามต่อการดำรงอยู่ของรัฐในฐานะผู้ที่ควรจะทำหน้าที่ในการบรรเทาความเดือดร้อนของพลเมืองของตนอีกด้วย
การเมืองของการให้และการแบ่งปันใหม่
แต่การให้ การแบ่งปันใหม่ และการแลกเปลี่ยน อันเป็นปฏิบัติการที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในสภาวะโควิด-19 ก็มิได้เป็นปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ดำเนินไปบนตรรกะทางศีลธรรมแนวราบอันโรแมนติกระหว่างผู้คนที่ปลอดพ้นจากการเมืองและอำนาจทางชนชั้น ในทางตรงกันข้าม การให้ในยุคแห่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นการกระทำที่ทั้งถูกทำให้เป็นการเมือง และทั้งเป็นการแสดงออกทางการเมือง ที่ได้ผลิตสร้างความย้อนแย้งขึ้นในความสัมพันธ์ทั้งระหว่างรัฐกับพลเมือง และระหว่างชนชั้นกลางกับชนชั้นล่าง ทั้งนี้ในขณะที่รัฐล้มเหลวในการทำหน้าที่ในการ “ให้” และช่วยเหลือประชาชน การตรวจจับเชิงศีลธรรมกลับกลายเป็นเครื่องมือที่รัฐนำมาใช้ เพื่อแทรกตัวเข้าไปในความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน และในการแสดงให้เห็นถึงอำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ของการคุมกฎของรัฐที่มีต่อประชาชน ในท่ามกลางความอดอยากของประชาชน “การจัดระเบียบสังคม” พร้อมด้วยบทลงโทษ ได้ถูกใช้เพื่อสร้างวินัยให้กับ”การให้” โดยที่รัฐได้กำหนดให้การแจกจ่ายข้าวของนั้นจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐเสียก่อนจึงจะทำได้ ในกรุงเทพมหานคร การแจกจ่ายทรัพยากรจะต้องทำภายในจุดที่รัฐกำหนดเท่านั้น ดังที่เจ้าหน้ารัฐนายหนึ่งได้ให้เหตุผลต่อการจับกุมหญิงสาวที่นำของมาแจกว่า “กรณีดังกล่าวมีวัตถุพยานชัดเจน เนื่องจากมีการนำยานพาหนะมาใช้ในการแจกของ แต่ไม่ได้มีการแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือสำนักงานเขต… ให้ทราบเรื่องแต่อย่างใด เพราะเมื่อแจ้งให้ทางเจ้าหน้าที่ทราบแล้ว ก็จะได้มีการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้าดูแลเพื่อไม่ให้เกิดเหตุความวุ่นวายในลักษณะดังกล่าว ซึ่งก็เข้าใจความหวังดีของผู้มาบริจาค แต่ต้องมีระเบียบวินัยและต้องใช้มาตรการรักษาระยะห่างเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19” ในห้วงเวลาแห่งวิกฤตการณ์ การรักษาระเบียบกลับกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเหนือการรักษาชีวิตของผู้คน และได้ทำให้การให้โดยไม่ผ่านการอนุญาตจากรัฐต้องกลายเป็นการกระทำเชิงการเมืองที่ถูกควบคุมกำกับอย่างเข้มงวด
นอกจากนี้แล้ว การเมืองของการให้ ยังได้ถูกทำให้เป็นการเมืองเชิงศีลธรรม เมื่อ “การรับ” ถูกขีดเส้นและกำกับอย่างเข้มงวดว่าเช่นไร จึงจะเป็นการรับที่ถูกต้องตามมาตรวัดทางศีลธรรมของผู้ให้ การแพร่ขยายของโครงการที่เป็นที่ภาคภูมิใจของชนชั้นกลางเช่นตู้ปันสุข จึงดำเนินไปพร้อมๆกับการก่นประนาม “พฤติกรรม”การรับของของชนชั้นล่างที่ “ละโมภโลภมาก” และ “ไม่รู้จักพอ” โดยเฉพาะเมื่อของที่ชนชั้นกลางนำมาบริจาคนั้น ถูกกวาดไปจนหมด หรือถูกนำไปขายต่อ สำหรับชนชั้นกลางแล้ว “พฤติกรรม” ดังกล่าวบ่อนเซาะ “ศีลธรรมเชิงบุญคุณ” ของการให้ที่ริเริ่มโดยชนชั้นกลาง ที่แม้แต่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ยังผสมโรงในการก่นประนาม และเสนอแนวทางในการตรวจจับโดยกล้องวงจรปิด
ในทัศนะของชนชั้นกลางนั้น ภาพของคนยากจนที่ “เอาสิ่งของ” ไปอย่าง “ไม่เกรงใจ” เป็นปฏิบัติการที่ล่วงละเมิด “ศีลธรรมเชิงบุณคุณ”อันศักดิ์สิทธิ์ ของผู้ให้ภายในวัฒนธรรมแบบไทยๆ ที่ซึ่งการรู้สึกขอบคุณนั้นเป็นสิ่งที่ถูกคาดหวังเมื่อได้รับส่ิงของที่ได้เปล่า ในขณะเดียวกันการแสดงออกถึงความขอบคุณก็เป็นสิ่งที่มักได้รับการยกย่องเชิงศีลธรรม การรู้จัก “พอเพียง” เป็นตัวอย่างหนึ่งของการแสดงออกถึงความขอบคุณดังกล่าว ในขณะที่การ “ไม่รู้จักพอ” นั้นเป็นด้านกลับของการสำนึกในบุญคุณ การให้ จึงไม่ใช่การกระทำทางเดียว หรือตั้งอยู่ในความสัมพันธ์ที่เป็นกลางภายใต้ความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมระหว่างผู้ให้ซึ่งเป็นคนรวยกับผู้รับคนยากจน แน่นอนที่ว่าผู้ที่กำหนดศีลธรรมเชิงบุญคุณนั้นย่อมได้แก่คนรวย
แต่สำหรับชนชั้นล่างแล้ว การรับและนำมาปันส่วนใหม่ถูกตีความด้วยศีลธรรมคนละชนิด สำหรับพวกเขาแล้ว การปันส่วนใหม่นั้นเป็น “เศรษฐกิจศีลธรรม” ซึ่งได้แก่การจัดการทางสังคม ที่ช่วยต่อชีวิตที่อดอยากและไร้ที่พึ่งจากรัฐของพวกเขาให้สามารถดำรงอยู่ได้ ภายใต้ความสัมพันธ์ที่ปราศจากความเสมอภาค การให้และการบริจาคจึงเปรียบเสมือนหน้าที่ในความรับผิดชอบทางศีลธรรมอย่างหนึ่ง และในกรอบคิดเช่นนี้ แม้แต่การขายต่อของบริจาค ก็ถือเป็นการกระทำการเพื่อช่วยเหลือคนจนด้วยกันชนิดหนึ่ง หญิงรายหนึ่งที่ถูกวิพากษ์อย่างหนักในการที่เธอนำข้าวของที่มีผู้บริจาคจากตู้ปันสุขมาขาย ได้อธิบายว่า “ที่มีคนบอกว่าป้าเอาของจากตู้ปันสุขมาขายต่อนั้นไม่เป็นความจริง ของที่เอามาขายต่อป้าไปซื้อมาขายอีกที โดยป้าได้ไปรับซื้อของบริจาคจากคนเร่ร่อนที่อยู่แถวสถานีรถไฟหัวลำโพงมาขายต่อเท่านั้น เพราะสงสารคนเร่ร่อน เนื่องจากพวกเขาไม่มีอุปกรณ์ปรุงอาหาร จะต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหรือหุงข้าวก็ทำไม่ได้ จึงรับซื้อเพื่อให้สามารถนำเงินไปซื้อข้าวกินแทน ขณะที่ตัวป้าเองก็เอามาขายต่อในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดเพื่อเอากำไรเล็กๆ น้อยๆ พอประทังชีพไปเท่านั้น”
การประทะกันระหว่างศีลธรรมเชิงบุญคุณของชนชั้นกลาง กับเศรษฐกิจเชิงศีลธรรมของคนยากจน ได้ชี้ให้เห็นถึงการแยกความแตกต่างทางชนชั้นที่แสดงออกมาในการเมืองของการให้ในห้วงเวลาของโควิด-19 การให้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางศาสนา หรือเหตุผลอื่นใดก็ตาม จึงไม่เคยเป็นความสัมพันธ์ทางเดียวที่เป็นเอกเทศ หากแต่เป็นปริมณฑลของการแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นภายในความสัมพันธ์ทางสังคมที่ไม่เท่าเทียม ที่ทำหน้าที่ในการผลิตซ้ำความสัมพันธ์ทางอำนาจอันเหลื่อมล้ำที่ดำรงอยู่ก่อนแล้วระหว่างผู้ให้ผู้ร่ำรวยกว่ากับผู้รับที่ยากจน (โปรดดู Bowie 1998) ศีลธรรมเชิงบุญคุณชนิดนี้ ไม่ได้เพียงจรรโลงอำนาจในการครอบงำที่ชนชั้นกลางมีต่อชนชั้นล่างเท่านั้น หากแต่ยังถูกฉวยใช้โดยรัฐ ผู้พร้อมที่จะแทรกตนเข้าไปในความสัมพันธ์ของการแลกเปลี่ยนที่ตนไม่ได้มีส่วน และเปลี่ยนศีลธรรมของการแบ่งปันให้กลายเป็นพื้นที่ทางการเมืองของจับจ้อง ควบคุม และตรวจตราทางอำนาจอีกด้วย
สำหรับชนชั้นล่างที่ยากจนแล้ว การพยายามดิ้นรนที่จะอยู่รอดในภาวะปิดเมืองและการหยุดชะงักทางเศรษฐกิจ จึงไม่เพียงได้แก่การพยายามเสาะแสวงหาช่องทางในการดำรงชีพที่มีอยู่อย่างจำกัด และเคลื่อนตัวไปยังแหล่งทรัพยากรต่างๆที่ถูกนำมาแบ่งปันภายในเมืองเท่านั้น หากยังต้องเรียนรู้ที่จะรับมือกับศีลธรรมเชิงบุญคุณที่มาพร้อมกับการตรวจตรากำกับภายใต้การเมืองของการแบ่งปันอีกด้วย ดังที่ชายคนหนึ่งได้ให้เหตุผลกับผู้เขียนในการเลือกมาเอาของในตู้ปันสุขที่เล็กและห่างไกลจากแหล่งชุมชนว่า “เพราะว่าที่นี่ไม่ค่อยมีคน(มอง)” การหลีกเลี่ยงจากอำนาจแห่งการจับจ้อง จึงเป็นทางเลือกในการต่อรองที่มีอยู่ไม่มากนักของคนจนในเมืองที่ช่วยให้พวกเขาสามารถรักษาชีวิต ไปพร้อมๆกับรักษาศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เอาไว้ได้