In 2016, I published a short article in Silapawattanatham Magazine asking this question: to when can we trace the origins of spirit mediums who channel past Thai kings? Since the 2014 coup, I have documented even newer forms of spirit mediums, such as mediums who channel the spirits of celebrities and fictional characters (one popular spirit is Brian O’Conner from Fast and Furious). I argue these contemporary manifestations of spirit possession reflect a certain unsettledness in Thai society. Why are spirit mediums proliferating in this moment in time?
The reign of royal spirits
In Thailand, spirit mediums mainly channel the following five entities: Hindu deities, past kings, sacred ghosts, celebrities and fictional characters—for example, cartoons and characters from Thai soapies. Invoking ‘high’ spirits is nothing new. Traditionally, spirits channelled by mediums tended to be deceased noble leaders, individuals who had exercised influence in the local community, or ‘master’ spirits with awesome powers (though who these spirits once were cannot always be traced in historical annals).
But mediums that channel royal spirits are an extremely recent phenomenon, arising sometime during the last century. Evidence suggests they have existed since at least the 1950s, as shown in an interview conducted with one such medium named Chaomae Uraithong by the anthropologist Nibhawan Wirachnibhawan in 1987. That year, Chaomae Uraithong was 69 years old, but had been a spirit medium for 40 years already. She named 20 spirits that regularly possessed her body—most spoke Thai, but some spoke Chinese—and among these spirits included King Naresuan and Queen Consort Sunanda Kumariratana.
What do people place faith in the channeling of royal spirits, which these days is an extremely popular practice? The popular book Who Killed King Thaksin (still in print), written by Maechi Woramai Kabillasingha in 1973, sheds some light on the practice of conjuring deceased royalty. Maechi Woramai argues that King Taksin’s former lives encompassed those of Bao Zheng (from China’s Song Dynasty) and King Naresuan. The ambitious claim is staked through references and quotes from King Mongkut’s Royal Chronicles of Siam, and through a study of Taksin’s life-history.
It is perhaps difficult to believe that King Taksin was a reincarnation of Bao Zheng and King Naresuan, a claim for which there is no solid evidence. What matters is that Maechi Woramai reached her conclusions about reincarnation through a reading of the Royal Chronicles’ version of Thai history. The phenomena of spirit mediums such as Chaomae Uraithong, who choose to channel the spirits of past kings, are similarly predicated on popular beliefs that such individuals are exceptional heroes who have driven the nation’s history.
The Royal Chronicles are but one literary source that constructs royal figures as the heroes of the Thai nation. History textbooks exercise, in this regard, high influence. The Geography of Siam, a textbook published in 1925 towards the end of the reign of Rama 6, selects a number of important ‘heroes’ that are, incidentally or not, among those that the most famed spirit mediums channel: the Kings Naresuan, Taksin and Chulalongkorn.
Here, it is important to point of that the ordinary people learning about the heroic exploits of royal figures is—like spirit mediums channeling royal spirits—a recent phenomenon. Traditionally, the histories told in the Royal Chronicles were studied only by those with royal and noble lineage. Even now, most Thai people know only the protagonists of the most important historical legends, such as Pra Chao Uthong and Pra Rung.
Today, all the kings and royal figures who are most popular among sprit medium communities all prominent in history textbooks: Naresuan, Ekathotsarot, Narai, Taksin, Chulalongkorn, Abhakara Kiartivongse, and so on. It may be that the apotheosis of these figures as heroes, saviours of the nation and stability, has raised their sacredness to a level that is far beyond even that of a king. While some spirits are channelled regularly only in certain local regions (Camadevi, Ngam Mueang, Pha Mueang), these spirits are always connected to the history of the nation, as officially told.
Followers and clients of spirit mediums regularly pray to royal spirits for promotions and success in their careers, to be spared from military conscription and for wealth. On one hand, we can interpret burgeoning faith in royal spirits are reflecting beliefs that kings do exercise extraordinary power, as well as the popularity of the monarchy more broadly.
Yet when people rely on supernatural beings, this inevitably reflects a certain lack of faith in their own abilities and the environment in which they live. I argue that the popularity of royal spirits is booming among those who feel they cannot rely on Thailand’s current government to bring stability and a good life. The power of royal spirits can be a shortcut not only to one’s next promotion, but also for living safely under the current regime.
Bob Marley, Doraemon and other post-coup spirits
It may be hard to believe, but all the following pop culture icons are regularly invited to possess spirit mediums: deceased movie protagonists (such as Brian O’Conner from Fast and Furious), deceased singers (such as Bob Marley), folklore characters (such as Nang Phisuea Samut), characters from television soapies and even cartoons (such as Doraemon).
The question is not whether these spirit mediums are the real deal or phonies (each of us probably knows the answer in our hearts). The more interesting answer is: why do some people believe these spirits are real and that they exercise supernatural powers?
Those who worship “Shaman O’Conner” regularly ask the Fast and Furious character to predict their fortune, ask questions of fate and for winning lottery numbers. In a similar way, the reggae singer (“Shaman”) Bob Marley is viewed by some as something of a sacred prophet, a phenomenon fueled perhaps by his songs of world peace. On some level, the interpolation of fictional characters and celebrities with supernatural powers is probably linked to processes of ‘pop-culturalisation’, whereby mass media raises certain figures to the status of idols.
But spirit mediums who channel celebrities and fictional characters began appearing in Thailand only around 2015—or, after the 2014 coup. At first, I felt it was understandable that people were impelled by feelings of insecurity to find comfort in whatever spirits and entities they could. I thought that these forms of spirit mediums would die out—but they never did! As time has passed, more people have begun to voice concerns over the economy and come out to criticise the National Council for Peace and Order (NCPO). Insecurity remains. Accordingly, we find that the lifespan of these spirit mediums is as long as that of the NCPO.
The question of Hindu deities
Like royal spirits, the popularity of mediums channelling Hindu deities is surging in Thailand, though they have been around for some time. I haven’t traced their exact origins yet, but am certain mediums challenging Hindu deities have existed for at 50–60 years. For example, the Bangkok-based medium, Tao Maha Phrom, began channeling such spirits in 1972. Hindu deities who possessed her included Brahma and Shiva (other spirits who possessed her included Narai and the East Asian bodhisattva Guanyin).
I once presumed that mediums channeling Hindu deities was a phenomenon organic to Thailand, as I had interviewed an academic specialising in Indian studies who confirmed that India does not have such a tradition. But at the 13th International Conference on Thai Studies last year in Chiang Mai, another academic working in India informed me that the channeling of Hindu deities via mediums is a very old practice (most likely borne from the mixing of local beliefs with Hindu religious practice)!
Purging the Thai Sangha
The persecution of one of the junta's most outspoken supporters, Buddha Issara, demands explanation
Three years ago, the spike in worshipping of Hindu deities could easily be correlated with the political turmoil that followed the 2014 coup. Now that time has passed, the pressures may be more dispersed—political, or due to the bad economy—but they are still driving people to rely on the benevolence of supernatural beings. Quick wealth, the granting of one’s wishes and an easy release from life’s burdens are all things that orthodox Buddhism does not allow for.
The NCPO’s pessimistic spirits
Spirit mediums in Thailand disproportionately represent minority demographics, such as the poor and people with queer identities, who liable to experience discrimination. However, their status as spirit mediums confers a certain immunity from ridicule, since they are associated with deities and other supernatural beings: who would dare to mock them?
Whoever these people are, and whether they really do channel past kings or not, the puzzle is: why have new forms of spirit mediums proliferated over the past four years? And why did they only appear along with the emergence of the NCPO?
From my research into followers of spirit mediums, I have found that many believers feel a distinct insecurity induced by the state of Thailand’s politics and the economy, which leads them to turn to the protections of past kings, Hindu gods and other entities with influence. The blessings of spirits are an easy way out, just as asking spirits for winning lottery numbers are a get-rich-quick solution in an economy that does not appear to reward the hard work of the poor and middle-class.
The effervescence of spirit mediums over the past four years reflects the inability of the NCPO to provide political, economic and emotional security for significant numbers of the Thai populace. For those who frequent spirit mediums, the sacred and the otherworldly can provide hope and the chance for a better future.
ปรากฏการณ์ร่างทรงในเวลานี้ ดูจะไม่แตกต่างไปจากเมื่อ 3 ปีที่แล้วเท่าไหร่นัก แต่มีพัฒนาการของความหลากหลายของ “เจ้า” หรือ “ผี” ที่มาทรงร่างทรงมากขึ้นอย่างน่าสนใจ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิกฤตหลายๆ อย่างในสังคมไทย
เมื่อปลายปี 2558 ผมได้เริ่มต้นเขียนบทความสั้นๆ เรื่อง “รัฐประหาร-ร่างทรง ถึงวีรบุรุษในประวัติศาสตร์ไทย” และได้ตีพิมพ์ลงในนิตยสารศิลปวัฒนธรรมในเดือนมกราคม 2559 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เรื่องของร่างทรงเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในโลกโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ้ค และสื่อโทรทัศน์ ในตอนนั้น ผู้เขียนจึงได้ตั้งคำถามว่า ร่างทรงที่ทรงอดีตพระมหากษัตริย์ไทยนั้นเกิดขึ้นในสังคมไทยตั้งแต่เมื่อใด และปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้จะสามารถอธิบายอะไรในสังคมไทยได้บ้าง
ดังนั้น บทความสั้นๆ นี้ ส่วนหนึ่งจึงเป็นการสรุปจากบทความที่เคยเขียนเอาไว้แล้ว แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นการแสดงความคิดเห็นต่อปรากฏการณ์ร่างทรงในปัจจุบันว่า ทำไมถึงได้กลับมาเป็นกระแสสังคมอีกครั้งหนึ่ง เท่าที่สังเกต ณ ตอนนี้ ร่างทรง เจ้า หรือ ผี ในสังคมไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มหลักคือ ร่างทรงที่ทรงเทพฮินดู ร่างทรงกษัตริย์ ร่างทรงผีศักดิ์สิทธิ์ ร่างทรงบุคคลที่มีชื่อเสียง และร่างทรงบุคคลที่ไม่มีตัวตนจริงเช่น การ์ตูน ตัวละคร เป็นต้น บทความนี้ขอเลือกมาเฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น
ประวัติศาสตร์ชาติกับร่างทรง (ของ) กษัตริย์ไทย
ร่างทรงที่ทรงวิญญาณของพระมหากษัตริย์ไทยนั้นเป็นปรากฏการณ์ใหม่มากในสังคมไทย โดยเพิ่งเกิดขึ้นไม่เกิน 100 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น แต่การทรงเจ้าเข้าผีก็ไม่ได้เป็นของใหม่ในสังคมไทย เพราะก่อนหน้านี้ ผีที่มาเข้าทรงมักเป็นผู้นำศักดิ์สิทธิ์หรือมีอำนาจในท้องถิ่น เป็นบุคคลในตำนาน หรือเป็นผีใหญ่ที่มีอำนาจ ซึ่งบางครั้งไม่อาจจะสืบหาตัวตนที่แน่นอนได้ผ่านเอกสารทางประวัติศาสตร์
เท่าที่พบหลักฐาน เป็นไปได้ว่า การทรงเจ้าที่เป็นเจ้าจริงๆ คือ อดีตพระมหากษัตริย์ไทยนั้นเกิดขึ้นอย่างน้อยตั้งแต่ทศวรรษ 2490 แล้ว ดังเห็นได้จากร่างทรงรายหนึ่งชื่อว่า “เจ้าแม่อุไรทอง” ซึ่งนิภาวรรณ วิรัชนิภาวรรณ นักมานุษยวิทยา ได้สัมภาษณ์ไว้ในวิทยานิพนธ์ของเธอเมื่อราวปี พ.ศ.2530 ในปีที่สัมภาษณ์นี้ เจ้าแม่อุไรทองมีอายุ 69 ปี โดยเล่าว่าตนเป็นร่างทรงมาแล้ว 40 ปี เจ้าหรือผีที่มาจับร่างของเจ้าแม่อุไรทองมีอยู่ราว 20 องค์ เช่น เจ้าแม่อุไรทอง เจ้าแม่ตะเคียนทอง พระนางเรือล่ม เจ้าแม่กวนอิม พระนารายณ์ พระนเรศวร ฤๅษีลิงดำ องค์จุก และเจ้าพ่อหนูแดง เป็นต้น โดยภาษาที่ใช้เวลาเข้าทรงส่วนใหญ่จะเป็นภาษาไทย แต่มีบางครั้งพูดภาษาจีนด้วย (นิภาวรรณ วิรัชนิภาวรรณ 2532: 95-97)
จากรายชื่อข้างต้น สังเกตได้ว่า มีพระนามของพระมหากษัตริย์ไทยอยู่องค์หนึ่งคือ พระนเรศวร และมีพระนามของพระอัครมเหสีอยู่องค์หนึ่งคือ พระนางเรือล่ม หรือ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ไม่มีข้อมูลว่า เจ้าที่มาทรงที่เป็นกษัตริย์หรือเชื้อพระวงศ์นี้ช่วยปัดเป่าหรือตอบคำถามใดกับคนที่มาบูชา แต่คำถามสำคัญอยู่ตรงที่อะไรที่แหล่งที่มาของความเชื่อในการทรงเจ้าที่เป็นกษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ ซึ่งได้รับความนิยมในปัจจุบันอย่างมาก
ร่องรอยของความเชื่ออาจเห็นได้จากหนังสือที่แม่ชีวรมัย กบิลสิงห์ ได้ตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2516 มีชื่อว่า “ใครฆ่าพระเจ้าตากสิน?” ซึ่งเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมอย่างมากดังเห็นได้จากยังคงมีการตีพิมพ์ซ้ำในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในหนังสือเล่มนี้แม่ชีวรมัยได้อธิบายไว้ว่า ชาติก่อนพระเจ้าตากสินเป็นเปาปุ้นจิ้น และเป็นพระนเรศวรที่กลับชาติมาเกิด ข้อสรุปนี้ แม่ชีวรมัยได้มาจากการอ่านและอ้างอิงจากพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา และได้มาจากการนั่งทางในทำให้ล่วงรู้ถึงพระราชประวัติของพระเจ้าตากสินได้ (วรมัย กบิลสิงห์ 2547)
เรื่องข้างต้น อาจฟังดูเป็นเรื่องเหลือเชื่ออยู่มาก และไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดมารองรับ แต่ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่ข้อเสนอของแม่ชีวรมัยนั้นนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ซึ่งถือเป็นต้นแบบของประวัติศาสตร์ชาติไทย ดังนั้น จิตสำนึกของคนทรงเจ้า เช่น เจ้าแม่อุไรทอง ที่เลือกทรงพระมหากษัตริย์จึงเป็นผลโดยตรงมาจากความเชื่อในวีรบุรุษในประวัติศาสตร์ไทยที่ไหลเวียนอยู่ในสังคม
ความจริง หนังสือพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเป็นเพียงหนึ่งในอุปกรณ์ที่ชาติปลูกฝังจิตสำนึกให้กับคนในสังคมเชื่อในวีรบุรุษไทยเท่านั้น แต่ที่น่าจะมีอิทธิพลอย่างสูงด้วยคือ ตำราเรียนประวัติศาสตร์ หนังสือภูมิศาสตร์ประเทศสยาม ตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2468 หรือปลายสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีเลือกเฟ้น “วีรบุรุษ” ที่สำคัญบางพระองค์ ซึ่งปัจจุบันร่างทรงนิยมทรงกัน ได้แก่ พระนเรศวร พระเจ้าตากสิน และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นไปได้ว่า ด้วยการยกย่องให้บุคคลข้างต้นเป็นวีรบุรุษ กอบกู้ชาติ และทำให้ชาติไทยมั่นคงนี้เอง จึงทำให้กษัตริย์เหล่านี้มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมาก จนไม่มีสถานะเป็นแค่กษัตริย์ในตำราเรียนเท่านั้น การที่ประชาชนได้รับรู้ถึงวีรกรรมของกษัตริย์ในอดีตนี้นับว่าเป็นเรื่องใหม่ เพราะเดิมที่ประวัติศาสตร์ที่มีความหมายเท่ากับพงศาวดารนั้นเป็นสิ่งที่กษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ และขุนนางจะได้รับรู้และร่ำเรียนกันเท่านั้น ในขณะที่ สามัญชนอย่างมากก็รับรู้เฉพาะวีรบุรุษในตำนานที่สำคัญบางคน เช่น พระเจ้าอู่ทอง พระร่วง เพียงเท่านั้น
ในปัจจุบัน กษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ที่นิยมในหมู่คนทรงเจ้า ล้วนปรากฏในแบบเรียนของประวัติศาสตร์ชาติแทบทั้งสิ้น เช่น พระนเรศวร พระเอกาทศรถ พระนารายณ์ พระเจ้าตากสิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมหลวงชุมพร เป็นต้น อาจมีบางองค์ที่นิยมกันเฉพาะในท้องถิ่น เช่น พระนางจามเทวี พ่อขุนงำเมือง พ่อขุนผาเมือง แต่ก็จะพบว่ามีความเกี่ยวพันโดยอ้อมกับประวัติศาสตร์ชาติฉบับทางการไม่แบบใดก็แบบหนึ่ง
ด้วยอำนาจบารมีที่สัมพันธ์กับราชการ ทำให้เรามักพบว่า ลูกศิษย์ลูกหาหรือคนที่เข้าไปรับบริการจากร่างทรงหลักๆ แล้ว มักจะบนบานขอให้ตัวเองประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ได้เลื่อนยศถาบรรดาศักดิ์ ให้รอดพ้นจากการเกณฑ์ทหาร หรือ กระทั่งมีเงินทองเพิ่มขึ้น ซึ่งปรากฏการณ์นับถือร่างทรงกษัตริย์ที่เพิ่มมากขึ้นนี้ ด้านหนึ่งก็อาจตีความได้ถึงความศรัทธาความเชื่อต่ออำนาจของกษัตริย์ และความนิยมในสถาบันกษัตริย์ที่เพิ่มมากขึ้นในรอบไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ในขณะเดียวกันก็อาจทำให้คิดได้ด้วยว่า เวลาที่คนจะพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นก็เป็นผลมาจากการไม่อาจพึ่งพาทั้งความสามารถส่วนบุคคลของตัวเอง และระบบที่เขาผู้นั้นทำงานอยู่ได้ ถ้าพูดอย่างรวบรัดเสียหน่อยก็คือ ความนิยมในร่างทรงกษัตริย์และเชื้อพระวงศ์นั้นเป็นผลมาจากคนเหล่านั้นไม่อาจเชื่อมั่นต่อระบบราชการได้ อำนาจของกษัตริย์จึงเป็นทั้งทางลัดในการเลื่อนขั้นและเป็นทั้งสิ่งที่อาจช่วยปกป้องพวกเขาให้ปลอดภัยจากระบบไปในขณะเดียวกัน
ทวยเทพฮินดูกับร่างทรง
แม้ว่า ช่วงนี้ ร่างทรงเทพเจ้าฮินดูจะได้รับความนิยมอีกครั้ง แต่การเข้าทรงเทพเจ้าฮินดูนี้ ความจริง มีมานานแล้วในสังคมไทย ผมไม่แน่ใจว่า การทรงเทพเจ้าฮินดูนั้นเริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ก็คงมีมาไม่ต่ำกว่า 50-60 ปีมาแล้ว ดังเห็นได้จากเมื่อราว พ.ศ.2530 มีร่างทรงรายหนึ่งชื่อว่า “เจ้าแม่อุไรทอง” อายุ 69 ปี ได้เริ่มต้นทรงเทพเจ้าฮินดู ได้แก่ พระนารายณ์ รวมถึงเจ้าแม่กวนอิม มาตั้งแต่เมื่อร่างทรงอายุได้สัก 30 ปี ความสามารถของร่างทรงรายนี้คือ สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ไล่ผี และไล่คุณไสยได้ โดยใช้วิธีรดน้ำพรและพอกแป้ง รวมทั้งเป็นครูตั้งขันธ์ 5 และยังตั้งตนเป็นครูทำหน้าที่อบรมสั่งสอนร่างทรงใหม่ๆ
อีกรายหนึ่งเป็นร่างทรงท้าวมหาพรหม เป็นเพศหญิง เริ่มเป็นร่างทรงเมื่อ พ.ศ.2515 ตั้งตำหนักทรงที่กรุงเทพฯ เทพเจ้าที่มาจับร่างทรงมีทั้งพระพรหม พระนารายณ์ พระศิวะ (คือเทพเจ้าสูงสุดของศาสนาฮินดูทั้งหมด) และรวมถึงเจ้าแม่กวนอิมอีกด้วย ร่างทรงท้าวมหาพรหมมีความสามารถในการทำพิธีสะเดาะห์เคราะห์ และรักษาผู้ที่ถูกคุณไสย รวมถึงได้รับเชิญไปประกอบพิธีกรรมต่างๆ เช่น ทำพิธีขึ้นบ้านใหม่ ตั้งศาลพระภูมิ ตรวจดวงชะตา เป็นต้น ร่างทรงท้าวมหาพรหมมักชอบแจกทานให้แก่ผู้ยากไร้ ทำให้มีคนศรัทธาเป็นจำนวนมาก มีหลายครั้งที่ผู้ศรัทธานำพระพุทธรูปและระฆังมาถวายให้กับร่างทรงอีกด้วย (นิภาวรรณ วิรัชนิภาวรรณ 2532: 95-110)
ผู้เขียนเคยสันนิษฐานว่า ร่างทรงเทพเจ้าฮินดูเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเอง ที่เชื่อเช่นนั้นเพราะเคยสัมภาษณ์กับนักวิชาการที่ศึกษาเรื่องอินเดีย ทำให้ได้รับคำตอบว่าในอินเดียไม่มีประเพณีการทรงเทพเจ้าฮินดู แต่จากงานประชุมทางวิชาการด้านไทศึกษาครั้งที่ 13 ที่เชียงใหม่นั้น ผู้เขียนได้พบกับนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญชาวต่างชาติที่ทำงานในอินเดีย ซึ่งได้เล่าว่า ในอินเดียมีการทรงเจ้าที่เทพเจ้าฮินดูมานานมากแล้ว อันเป็นผลเป็นมาจากการผสมผสานกันระหว่างความเชื่อท้องถิ่นกับความเชื่อในศาสนาฮินดู
เรื่องนี้คงต้องสืบค้นกันต่อไปว่า ประเพณีการทรงเทพเจ้าฮินดูนั้นเริ่มต้นเมื่อใดในสังคมไทย แต่จากข้อมูลในเบื้องต้น น่าสังเกตว่าทั้งร่างทรงกษัตริย์ และร่างทรงเทพเจ้าฮินดู เกิดขึ้นในช่วงระหว่างปี 2490-2515 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบการเมืองแบบเผด็จการ และมีความไม่มั่นคงทางการเมืองสูงมาก เทพเจ้าฮินดูจึงได้รับขึ้นในสังคมไทย ช่วงเวลาดังกล่าวพบว่าได้มีความนิยมในเทพเจ้าฮินดูในกรุงเทพฯ เช่น การสร้างศาลท้าวมหาพรหม เป็นต้น
เมื่อ 3 ปีที่แล้ว การที่คนนิยมร่างทรงเทพเจ้าฮินดูนั้นสามารถเข้าใจได้ง่ายว่า เป็นผลมาจากความปั่นป่วนและวิกฤตของบ้านเมืองภายหลังการปฏิวัติ แต่ในกรณีปัจจุบันนี้ อาจเป็นผลมาจากแรงผลักดันหลายๆ อย่างประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางการเมือง และเศรษฐกิจ ที่ทำให้พวกเขาต่างต้องการพึ่งพาอำนาจของเทพเจ้ามากขึ้น เพื่อบันดาลให้ตัวเองร่ำรวย ได้สิ่งต่างๆ ตามประสงค์ และขจัดปัญหาในชีวิตได้อย่างทันทีทันใด ซึ่งเป็นสิ่งที่ในเวลานี้ศาสนาพุทธเถรวาทแบบที่เราเข้าใจกันไม่อาจตอบสนองต่อปัญหาพวกนี้ให้กับเขาได้อีก
พึ่งอำนาจผีนักร้อง นักร้อง ตัวละคร และการ์ตูน
บางครั้งก็เป็นเรื่องยากที่จะเชื่อว่านักร้องที่ตายไปแล้ว เช่น ไบรอัน โอคอนเนอร์ (Brian O’Connor) จากหนังดังเรื่อง The Fast and the Furious นักร้องที่ตายไปแล้ว เช่น บ็อบ มาเลย์ (Bob Marley) ตัวละครในวรรณคดี เช่น ผีเสื้อสมุทร ขุนข้าง ตัวละครจากละครโทรทัศน์ เช่น ผีอีแพง หรือกระทั่ง ตัวการ์ตูน เช่น ไจแอนด์ โดราเอมอน ทั้งหมดนี้ถูกอัญเชิญมาเข้าร่างทรง ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่า ร่างทรงพวกนี้เป็นของจริงหรือของปลอม เพราะทุกคนคงมีคำตอบในใจของตัวเอง แต่คำถามที่น่าสนใจอยู่ตรงที่ทำไมมีคนบางกลุ่มที่เชื่อในวิญญาณเหล่านี้ หรือในทางกลับกันคือ ทำไมร่างทรงจึงเชื่อว่าวิญญาณเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีจริงและมีอิทธิฤทธิ์ได้
ถ้าหากเชื่อว่าการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสื่อมีอิทธิพลต่อความคิดของคนในสังคม ก็อาจเป็นไปได้ว่า การเผยแพร่เรื่องราวอะไรในเวลาที่ยาวนาน หรือ เป็นเรื่องได้รับความนิยมอย่างสูง จนทำให้บุคคลสักบุคคลหนึ่งมีสถานะเป็น “ไอดอล” หรือเป็นต้นแบบสักอย่าง ก็อาจจะทำให้บุคคล หรือ ตัวละคร ที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง สามารถกลายเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงได้ กระบวนการข้างต้นอาจจัดอยู่ในลักษณะของกระบวนการวัฒนธรรมประชา (pop-culturization)
หลักๆ แล้ว คนที่ไปบูชา “พ่อปู่โอคอนเนอร์” มักขอให้ร่างทรงช่วยทำนายดวง ตรวจชะตาชีวิต ให้คำนายว่ากิจการที่กำลังทำจะประสบ และใบ้หวยขอเลขเด็ด ในหนังเรื่อง The Fast and the Furious ไบรอัน โอคอนเนอร์ หรือที่แสดงในหนังเป็นพอล วอกเกอร์ เป็นคนที่มีคาร์แลกเตอร์เท่ห์และน่าจดจำ เมื่อเขาตายจากอบุติเหตุ ทำให้มีคนทั่วโลกต่างไว้อาลัย เช่นเดียวกันกับ บ็อบ มาร์เลย์ นักร้องเรกเก้ชื่อดังที่กลายมาเป็นไอดอลของคนทั่วโลก โดยใช้เพลงเพื่อกระตุ้นให้เกิดสันติภาพ จนบางคนยกย่องเขาเป็นเหมือนกับศาสดา ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าว “พ่อปู่บ็อบ มาร์เลย์” จึงมีอิทธิฤทธิ์ใบ้หวยเช่นกัน
ในกรณีของตัวละครจากวรรณคดี วรรณกรรม หรือ ละครโทรทัศน์ ไม่สถานะไม่ต่างกันมาก ในแง่ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง จึงทำให้คนเกิดการจดจำ ในกรณีของผีเสื้อสมุทรนั้น เป็นตัวละครเด่นในเรื่องพระอภัยมณี จึงเกิดการสร้างอนุสาวรีย์ขึ้น ซึ่งคนไทยมักจะบูชาอนุสาวรีย์ในฐานะที่เป็นที่สถิตของวิญญาณ อันเป็นผลมาจากความเชื่อดั้งเดิม ส่วนสถานะของขุนช้างนั้น วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผนตั้งอยู่บนพื้นฐานของเรื่องจริงบางส่วน ในสมัยโบราณ ขุนแผนได้รับการยกย่องเป็นเทพ แต่ขุนช้างไม่ได้มีสถานะเช่นนั้น แต่สิ่งที่คนทั่วไปรับรู้ต่อขุนช้างคือ เป็นผู้ที่ร่ำรวย คนที่ไปบูชาร่างทรงขุนช้างจึงมักขอโชคลาภและเลขเด็ด
จะเห็นได้ว่า ร่างทรงทั้งหมดมีอิทธิฤทธิ์ในการบันดาลความร่ำรวยและโชคให้กับผู้ที่บูชา ร่างทรงพวกนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อราว พ.ศ.2558 หรือหลังการรัฐประหารของ คสช. ได้ไม่นาน ซึ่งในระยะแรกที่คนบูชากัน เพราะรู้สึกถึงความไม่มั่นคงในจิตใจ จึงคิดเพียงแค่ว่า วิญญาณ หรือ เจ้า อะไรก็ได้ ถ้าบูชาแล้ว สามารถชี้ช่องทางรวยได้ก็เพียงพอ ในตอนนั้น ผู้เขียนคิดว่า ร่างทรงพวกนี้จะหายไป แต่กลับไม่หาย ดังนั้น สาเหตุที่ร่างทรงพวกนี้มีอายุยาวนานเท่ากับรัฐบาลทหาร คสช. ก็เพราะตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา 4 ปี ผู้คนในสังคมยังคงรู้สึกถึงความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ยิ่งโดยเฉพาะในช่วงขาลงของรัฐบาลทหารด้วยแล้ว ก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่า คนเริ่มออกมาพูดถึงปัญหาเรื่องเศรษฐกิจกันมากขึ้น ดังนั้น จึงได้เกิดปรากฏการณ์บูชาร่างทรงพวกนี้อีกครั้ง
ท้ายเรื่อง
คนในสังคมจำนวนหนึ่งอาจมองว่า คนที่เป็นร่างทรงนี้ไม่ปกติ ซึ่งความจริงแล้ว ก็มีข้อมูลจำนวนหนึ่งที่พบว่าเมื่อสืบประวัติของร่างทรงจะพบว่า ร่างทรงบางรายเคยเป็นคนจนมาก่อน และเมื่อมาเป็นร่างทรงทำให้มีฐานะมากขึ้น บางคนไม่ได้รับการยอมรับจากคนในสังคม เช่น เป็นเพศที่สาม เป็นคนอ้วนหน้าตาไม่ดี เมื่อเป็นร่างทรงก็ไม่มีใครกล้าล้อเลียนพวกเขาอีก เพราะการเป็นร่างทรงทำให้พวกเขามีอำนจของเทพ ของผี ที่ไม่อาจมองเห็นมาปกป้องพวกเขา ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นคนปกติหรือไม่ปกติ เป็นร่างทรงจริงหรือไม่จริง ประเด็นสำคัญที่ทุกคนในสังคมไทยควรต้องตั้งคำถามคือ ทำไมปรากฏการณ์ร่างทรงถึงได้เกิดขึ้นในช่วงตลอด 4 ปีที่ผ่านมา และโดยเฉพาะในระยะเริ่มต้น และระยะขาลงของระบอบ คสช.
จากบริบททางประวัติศาสตร์ และข้อมูลจากการบูชาร่างทรง ปรากฏการณ์ร่างทรงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ย่อมชี้ชัดว่า คนจำนวนหนึ่งรู้สึกถึงความไม่มั่นคงทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และชีวิตเป็นอย่างสูง การพึ่งพิงอำนาจของกษัตริย์และเทพเจ้าฮินดูผู้มากอิทธิฤทธิ์ จึงเป็นทางออกหนึ่งให้กับพวกเขา เช่นเดียวกับการบูชาร่างทรงเพื่อขอหวยและเลขเด็ดก็เป็นทางออกที่ดีอย่างหนึ่งในยามที่เศรษฐกิจไม่ดี เพราะการขยันทำมาหากินอย่างไรก็ไม่สามารถรวยได้ง่ายๆ ภายใต้โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยให้คนจนหรือชนชั้นกลาง
สรุปให้สั้นที่สุด ปรากฏการณ์ร่างทรงที่เพิ่มมากขึ้นในช่วง 4 ปีนี้ เป็นผลมาจากการที่รัฐบาลทหารไม่สามารถสร้างความรู้สึกมั่นคงทั้งในแง่จิตใจ การเมือง และปากท้องให้กับคนในสังคมได้ พวกเขาจึงต้องพึ่งอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่อาจให้ความหวังและอนาคตกับพวกเขาได้นั่นเอง